สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบํารุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์ และจําหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ดําเนินการเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ การผสมเทียม สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ประยุกต์ ส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิชาการด้านการปศุสัตว์
4. กํากับ ดูแล ให้คําปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ฝ่ายบริหารทั่วไป มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและ งานธุรการทั่วไป
2. ดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ การ บริหารงานบุคคล และงานติดต่อ ประสานงานทั่วไป
กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์จัดทําแผนยุทธศาสตร์/โครงการ/แผนงานและงบประมาณ ด้านการพัฒนาปศุสัตว์ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด/ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศักยภาพการปศุสัตว์ในพื้นที่
2. จัดทํา ปรับปรุงฐานข้อมูล และสารสนเทศด้านการปศุสัตว์ให้ครอบคลุม ครบถ้วน ทั้งในระดับจังหวัด อําเภอ ท้องถิ่น และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข่าวสารด้านการปศุสัตว์อย่างทั่วถึง
3. สนับสนุนการปฏิบัติงานตามโครงการ แผนงานในพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของเกษตรกรและประชาชนในการพัฒนาปศุสัตว์
4. ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้สามารถปฏิบัติงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบริการประชาชนในการให้คําปรึกษา แนะนํา และช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านปศุสัตว์
5. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ บูรณาการงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเป็นข้อมูลในการพิจารณาจัดทํานโยบาย/ โครงการ/แผนงาน ต่อไป
6. การปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) ให้กับเกษตรกรเพื่อลดการเสียเปรียบ ทางการค้า
7. ดําเนินการตามนโยบายเร่งด่วน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่า ด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามที่ ได้รับมอบอํานาจ
2. ดําเนินการจัดทําแผนและปฏิบัติงานทาง วิชาการด้านสุขศาสตร์สัตว์ ด้านวิทยาการสืบพันธุ์ การ รักษาพยาบาลสัตว์ที่ซับซ้อน และการชันสูตร ทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งสนับสนุนทางวิชาการ แก่ สํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอด เทคโนโลยีด้านสุขภาพสัตว์
กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ ยาสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์ และจําหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นตามที่ได้รับมอบ อํานาจ
2.ดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาฟาร์มให้เป็นไปตาม มาตรฐานฟาร์ม หลักสวัสดิภาพสัตว์และพัฒนาคุณภาพ สินค้าปศุสัตว์ ตรวจสอบติดตามรักษามาตรฐานฟาร์มที่ผ่าน การรับรอง ควบคุมและสนับสนุนการปฏิบัติงานด้าน มาตรฐานฟาร์มและสินค้าปศุสัตว์แก่สํานักงานปศุสัตว์อําเภอ
3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีการ ผลิตสัตว์ ผลิตภัณฑ์สัตว์ แนวทางการแก้ไขปัญหาการผลิตสัตว์ ให้เหมาะสมที่จะนําไปปฏิบัติในพื้นที่
2. วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ จัดระบบเขตเศรษฐกิจด้านการ ผลิตปศุสัตว์ ระบบการตลาดปศุสัตว์ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลการ พัฒนาเทคโนโลยีการปศุสัตว์ประยุกต์
3. กําหนดกลยุทธ์ มาตรการ แผนและแนวทางการปฏิบัติงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และให้คําปรึกษา แนะนํา เกี่ยวกับระบบการพัฒนาปศุสัตว์
4. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบํารุงพันธุ์สัตว์ การ ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 5) ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานตาม โครงการ แผนงาน/งบประมาณ (กํากับ ดูแลงาน/โครงการ ตามพระราชดําริ และโครงการพิเศษ)
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
อาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์
และจําหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง